นักโบราณคดีพบ “ลิปสติกโบราณ” อายุเกือบ 4,000 ปี
นักโบราณคดีรายงานว่า ขวดหินขนาดเล็กที่พบในแหล่งขุดค้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ภายในบรรจุ “เครื่องสำอางสีแดง” ที่คาดอาจใช้เป็นสีทาปาก หรือก็คือลิปสติก โดยคาดว่าเป็นของจากยุคเมื่อเกือบ 4,000 ปีก่อน
ลิปสติกโบราณนี้ถูกขุดพบจากสุสานยุคสำริดและหลุมศพในภูมิภาคจิรอฟต์ของอิหร่าน คาดว่ามาจากอาณาจักรโบราณที่รู้จักกันในชื่อมาร์ฮาซี ถูกค้นพบในปี 2001 เมื่อมีน้ำท่วม
หลังจากนั้นสิ่งของล้ำค่าในหลุมศพได้ถูกปล้นและขายโดยคนในท้องถิ่น สิ่งของที่เป็นหินและทองแดงจำนวนมาก รวมถึงลิปสติกโบราณนั้นถูกค้นพบโดยกองกำลังความมั่นคงของอิหร่านในเวลาต่อมา
นี่อาจเป็นตัวอย่างลิปสติกที่เก่าแก่สุดที่เคยได้รับการบันทึกไว้และได้รับการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพบว่ากว่า 80% ของเนื้อลิปสติกประกอบด้วยแร่ธาตุที่ให้สีแดงเข้ม ส่วนใหญ่เป็นแร่เฮมาไทต์ รวมถึงยังประกอบด้วยแมงกาไนต์และเบรอนไนต์ซึ่งมีสีเข้ม นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่น ๆ และสารคล้ายขี้ผึ้งที่ทำจากผักและสารอินทรีย์อื่น ๆ
ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า “ทั้งความเข้มข้นของแร่ธาตุที่มีสีแดงและสารขี้ผึ้งนั้นคล้ายกันอย่างสมบูรณ์กับสูตรสำหรับการทำลิปสติกร่วมสมัย”
มัสซิโม วิดาเล นักโบราณคดีจากภาควิชามรดกทางวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยปาดัวในอิตาลี หนึ่งในทีมผู้ค้นพบ กล่าวว่า แม้มีความเป็นไปได้ที่เครื่องสำอางจะถูกใช้ในรูปแบบอื่น เช่น เป็นบลัชออน แต่สีแดงเข้มที่เป็นเนื้อเดียวกัน สารประกอบที่ใช้ และรูปร่างของขวด “บ่งชี้ว่าควรใช้กับริมฝีปาก”
วิดาเลบอกว่า นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกของเครื่องสำอางสีแดงโบราณที่ต้องศึกษา “สีแดงเข้มนี้เป็นสีแรกที่เราพบ ในขณะที่เคยมีการพบรองพื้นและอายแชโดว์สีอ่อนกว่ามาก่อน”
โจแอนน์ เฟลตเชอร์ ศาสตราจารย์ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยยอร์ก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย กล่าวว่า เคยพบหลักฐานการใช้เฮมาไทต์สีแดงมาบดทำเครื่องสำอางตั้งแต่ยุคหินใหม่ตอนปลาย รวมถึงในภาชนะใส่เครื่องสำอางของอียิปต์โบราณ
เธอบอกว่า “เป็นไปได้ว่าสิ่งที่อยู่ในขวดถูกใช้เป็นสีทาปากจริง แต่มันยังสามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มสีสันให้กับแก้ม หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นได้ แม้ว่าขวดจะดูเหมือนหลอดลิปสติกสมัยใหม่ก็ตาม”
ด้าน ลอเรนซ์ โทเทลิน ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์โบราณประจำคณะประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศาสนา แห่งมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการค้นพบ กล่าวว่า “เป็นไปได้มากที่สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวจะเป็นลิปสติกจริง”
เธอบอกว่า “ดังที่ทีมวิจัยชี้ให้เห็น สูตรนี้ไม่ต่างจากสูตรสมัยใหม่ สีแดงเข้มก็เป็นสิ่งที่เราคาดหวังได้จากการแต่งหน้าทาปาก ..คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง. ส่วนผสมยังพบได้ทั่วไปในการเตรียมยาแผนโบราณ และขวดก็มีรูปร่างที่ไม่น่าจะเป็นขวดยารักษา”
อีกข้อสังเกตหนึ่งที่นักวิจัยพบคือ ส่วนผสมของลิปสติกโบราณนี้มีปริมาณตะกั่วต่ำ ซึ่งอาจหมายความว่า คนที่สร้างลิปสติกนี้เข้าใจถึงอันตรายของการรับสารตะกั่ว โลหะพิษที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย
“มีการถกเถียงกันอย่างยาวนานและรุนแรงในหมู่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารประกอบตะกั่วในเครื่องสำอาง” วิดาเลกล่าว
เขาเสริมว่า การวิจัยอื่นก่อนหน้านี้เกี่ยวกับเครื่องสำอางโบราณที่พบในภูมิภาคเดียวกัน “ชี้ให้เห็นว่า เมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ตะกั่วสีขาวเป็นวัสดุพื้นฐานสำหรับรองพื้นบนใบหน้า ขณะเดียวกันเนื้อสารสีแดงเข้มซึ่งคาดว่าจะมีไว้สำหรับริมฝีปากนั้นแทบจะปราศจากสารตะกั่ว มันอาจเป็นทางเลือกที่มีสติ”
นักโบราณคดีประเมินว่า การทำลิปสติกโบราณนี้ ประกอบด้วยอนุภาคควอตซ์จากทรายบดหรือคริสตัล ซึ่งอาจเพิ่มเข้าไปให้เป็น “สารที่ส่องแสงระยิบระยับ” แม้อาจจะเป็นไปได้ว่ามันมาจากด้านในของขวดเอง ซึ่งประดิษฐ์อย่างประณีตจากหินสีเขียวที่เรียกว่าคลอไรต์
“ขวดที่มีรูปทรงเพรียวบางและความหนาที่จำกัด บ่งบอกว่าสามารถถือขวดได้สะดวกด้วยมือข้างหนึ่งพร้อมกับด้ามกระจกทองแดง และอีกมือที่ว่างสามารถใช้แปรงหรืออุปกรณ์แต่งหน้าชนิดอื่นได้” ทีมวิจัยระบุ
ยังไม่ชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของลิปสติกนี้ วิดาเลบอกว่า “เท่าที่เราทราบ เครื่องสำอางมักถูกวางอยู่ใกล้ใบหน้าของผู้เสียชีวิตในหลุมศพในสมัยนั้น” อย่างไรก็ตาม หลุมศพถูกปล้นและทำลาย นักวิจัยจึงไม่สามารถเชื่อมโยงลิปสติกดังกล่าวกับซากศพมนุษย์ที่เฉพาะเจาะจงได้
ปัจจุบันเครื่องสำอางโบราณชิ้นี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติจิรอฟต์
อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่
เรียบเรียงจาก CNN
รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี
ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK
เริ่มแล้ว! พายุฤดูร้อนถล่มหนัก! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ